วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โจทย์คณิต แสนสนุก

>0< โจทย์คณิตฝึกสมอง >0<


1. ทอมทำงานอย่างหนึ่งเป็นเวลา 30 วัน เจอร์รี่ทำงานนั้นต่อจากทอมเป็นเวลา 5 วัน หลังจากนั้นทั้ง 2 คนช่วยกันทำงานต่ออีกเป็นเวลา 10 วัน งานจึงเเล้วเสร็จ ถ้าทอมกับเจอร์รี่ช่วยกันทำงานนี้ตั้งเเต่ต้นจะเเล้วเสร็จในเวลา 20 วัน สมมติให้ทั้ง 2 คนนี้ทำงานคงที่ตลอด จงหาว่า ถ้าทอมทำงานนี้คนเดียวตั้งเเต่ต้นจะเเล้วเสร็จในเวลากี่วัน


เฉลย
...............................

..........................

.....................

.................

............

.........

......

....

..

.


ตอบ 100 วันเนื่องจาก ถ้าทอมกับเจอร์รี่ ช่วยกันทำงานจะเเล้วเสร็จในเวลา 20 วันดังนั้น ถ้าช่วยกันทำงาน 10 วัน จะเเล้วเสร็จไปครึ่งหนึ่งเเสดงว่า เมื่อทอมทำงานคนเดียวเป็นเวลา 30 วัน เจอรี่มาทำงานต่ออีก 5 วัน งานจะเสร็จไปครึ่งหนึ่งสรุปได้ว่า ถ้าทอมทำงานคนเดียว 60 วัน เจอรี่มาทำงานต่ออีก 10 วัน งานจะเสร็จพอดี เเสดงว่า ถ้าลดการทำงานของทั้ง 2 คน คนละ 10 วัน งานจะเสร็จเพียงครึ่งหนึ่งของงานจะได้ว่า ทอมทำงานคนเดียว 50 วัน ได้งานเพียงครึ่งหนึ่งของงานดังนั้น ทอมทำงานคนเดียวจะเสร็จในเวลา 100 วัน



2.กำหนดให้ L เป็นชุดของจำนวนนับใดๆ ที่เมื่อนำ 3 มาหารจำนวนนับนั้นจะเหลือเศษ 1 เสมอ เเละเรียกจำนวนต่างๆที่เป็นสมาชิกของ L (ยกเว้นตัวเลข 1) ซึ่งไม่สามารถหารด้วยสมาชิกตัวอื่นๆ ของ L ได้ลงตัวนอกจากตัวมันเองกับ 1 ว่า "จำนวนเฉพาะของ L" จงหาว่า จำนวนที่มีสมบัติเป็น "จำนวนเฉพาะของ L" เมื่อเขียนเรียงจากน้อยไปมาก ที่อยู่ในอันดับที่ 8 คือจำนวนใด


เฉลย
...................................

...........................

.....................

...............

............

........

......

....

...

..

.

ตอบ 31สมาชิกของ L เมื่อเขียนเรียงลำดับจากน้อยไปมากเป็นดังนี้1 , 4 , 7 , 10 , 13 , 16 , 19 , 22 , 25 , 28 , 31 , 34 , ...โดยจำนวนถัดไป ได้จากการนำ 3 บวกด้วยจำนวนข้างหน้าจากความหมายของจำนวนเฉพาะของ L คือจำนวนซึ่งเป็นสมาชิกของ Lที่สมาชิกของ L ตัวอื่นๆหารไม่ลงตัว ยกเว้น 1 กับตัวมันเอง จะเห็นว่าจำนวนสมาชิกของ L คือ 4 , 7 , 10 , 13 , 19 , 22 , 25 , 31 , 34 , ...จะเห็นว่า จำนวนเฉพาะอันดับที่ 8 ของ L คือ 31




3. จงหาจำนวนเต็มบวกเก้าหลักที่มีค่ามากที่สุดที่มีลักษณะดังนี้1.เลขโดดในหลักต่างๆไม่ซ้ำกันเลย2.เลขโดดสองตัวใดๆที่อยู่ติดกันจะต้องหารด้วย 17 หรือไม่ก็ 23 ลงตัว


เฉลย
................................

...........................

......................

..................

...............

............

.........

.....

..

.


ตอบ 923,468,517 เนื่องจากจำนวนเต็มที่ต้องการมีเลขโดดสองตัวใดๆ ทีติดกันหารด้วย 17 หรือ 23 ลงตัว ดังนี้

จำนวนเต็ม 2 หลักที่ 17 หารลงตัว ได้เเก่ 17 , 34 , 51 , 68 เเละ 85

จำนวนเต็ม 2 หลักที่ 23 หารลงตัวได้เเก่ 23 , 46 , 69 , เเละ 92

จะได้ว่าจำนวนเต็มบวกเก้าหลักที่มากที่สุด

ต้องเริ่มสองหลักซ้ายสุดด้วย 92พิจารณาจำนวนเต็มบวกที่ต่อจาก 2 ด้วยจำนวนเต็มบวก 17 เเละ 23 คือ 23 , 34 , 46 , 68 , 85 , 51 , 17ดังนั้น จำนวนที่ต้องการคือ 923,468,517



4. จงหาผลลัพธ์ของ 997-996-995+994+993-992+991-990-989+988+987-986+985-984-983+982+981-980+...+7-6-5+4+3-2+1


เฉลย
.................................

...........................

......................

.................

.............

.........

......

....

..

.


ตอบ 167จำนวนที่บวกลบกันมีอยู่ทั้งหมด 997 จำนวนเเบ่งกลุ่มหาผลบวกผลลบทีละ 6 จำนวนจะได้เป็น 997 หาร 6 ได้ผลลัพธ์ 166 เศษ 1เเสดงว่าเเบ่งได้ 166 กลุ่ม เศษเหลือ 1 จำนวนลองดูผลบวกของ 6 จำนวนเเรกจะได้ 997-996-995+994+993-992 = 1จะได้ว่าถ้าเเบ่งเช่นนี้ไปเรื่อยๆไปกลุ่มที่ 166 คือ 7-6-5+4+3-2 = 1ตัวสุดท้ายที่เหลือคือ 1ผลลัพธ์จึงได้เเก่ (166 x 1) +1 = 167


5. หนังสือเล่มหนึ่งมีจำนวนหน้าไม่เกิน 500 หน้า ถูกฉีกออกไป 1 เเผ่น ผลบวกของเลขหน้าทั้งหมดที่เหลืออยู่มีค่าเท่ากับ 19905 จงหาว่า ผลบวกของเลขหน้าทั้งสองที่ถูกฉีกออกไปเป็นเท่าใด


เฉลย
.........................

.....................

................

.............

..........

.......

.....

...

..

.


ตอบ 195หนังสือมีหน้าไม่เกิน 500 หน้า เเละหนังสือจะเรียงหน้ากันตั้งเเต่ หน้า 1 , 2 , 3 ... ไปไม่เกิน 500 หน้าสมมติให้หนังสือมี n หน้า จะเห็นได้ว่าผลบวกของเลขหน้าทั้งหมดคือ 1 + 2 +3 +...+ n เนื่องจากหนังสือถูกฉีกไป 2 เเผ่น ดังนั้นจะหาค่า n ที่น้อยที่สุดที่ทำให้ n(n+1) หาร 2 <-----เขียนเศษส่วนมะได้ อิอิมากกว่า 19905พบว่า เมื่อ n = 200 จะได้ จะได้ 20100ดังนั้น n = 200 เเสดงว่าหนังสือมี 200 หน้าผลบวกของเลขหน้าหนังสือเท่ากับ 20100ผลบวกของเลขหน้าที่ถูกฉีกออกไปคือ 20100 - 19905 = 195

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

1.ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
ลำดับขั้นของการเรียนรู้ ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ และมีความทรงจำ ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ" ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3. ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง


2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไรทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ มีดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike)
ธอร์นไดค์ (Edward L Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน เป็นเจ้าของทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) เขาเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ต้องสร้างสิ่งเชื่อมโยงหรือพันธ ์(Bond) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีพันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism Theory) หรือ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่างๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาทสมองกล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่จะเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. กฎแห่งการฝึกหัด(Law o f Exercise) หมายถึงการที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำๆบ่อยๆ ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์
3. กฎแห่งความพอใจ(Law of Effect) กฎนี้เป็นผลทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้หรือสิ่งเชื่อมโยงแข็งมั่นคง ในทางกลับกันหากอินทรีย์ได้รับความไม่พอใจ จะทำให้พันธะหรือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง หรืออาจกล่าวได้ว่า หากอินทรีย์ได้รับความพอใจจากผลการทำกิจกรรม ก็จะเกิดผลดีกับการเรียนรู้ทำให้อินทรีย์อยากเรียนรุ้เพิ่มมากขึ้นอีก ในทางตรงข้ามหากอินทรีย์ได้รับผลที่ไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียนรู้หรือเบื่อหน่ายและเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้

ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี
เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก

ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์
เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้

ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์
มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ

ทฤษฎีเกสตัลท์
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

ทฤษฎีสนาม
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ทฤษฎีเครื่องหมายของทอลแมน
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ เพียเจต์ และบรุนเนอร์ แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆควรให้เด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน

ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล
เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม
นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ

ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง

ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์
เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์
เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์
เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช
เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล
เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ คือ การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ


3. นวัตกรรม คืออะไร

คำว่า นวัตกรรม มีรากศัพทท์มาจากคำว่า innovare ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้อีกด้วย นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่จะเป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้นหรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฎิบัติก่อน
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฎิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไปกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม


4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร
นวัตกรรมทางการศึกษา ( Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วย นวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย โดยการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำหรือทฤษฎีทางการศึกษา รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เพื่อนนำมาพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
2. เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้
3. เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น
ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา
- ศูนย์การเรียน
- การสอนแบบโปรแกรม
- บทเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียนการสอน
- การเรียนการสอนระบบเปิด
- การสอนเป็นคณะ
- การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
- แบบฝึกหัดปฏิบัติเฉพาะกิจ


5. เทคโนโลยี หมายถึง
เทคโนโลยี หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆทางอุตสาหกรรม ถ้าในแง่ความรู้ เทคโนโลยี หมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
เทคโนโลยีในทางเศรษฐศาสตร์ คือ เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น คำว่า เทคโนโลยี มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็นเทคโนโลยีไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตกได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น ( Why )
ปัจจุบันเทคโนโลยี มีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและรักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย
2. เทคโนโลยกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตปรับปรุงพันธ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน


6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูลข่าวสารหรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่น คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆทุกวัน เช่น มีการใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่าง ๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ
ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่งนักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่าไอทีได้เป็นศาสตร์ที่ได้รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต
ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะศึกษาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับข้อมูลข่าวสาร ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์โดยจัดเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้ คือ
1. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
2. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
3. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
4. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
5. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
6. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


7. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


8. สื่อการสอน คืออะไร
สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ทักษะและเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
ประโยชน์ของสื่อการสอน
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้น
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจ และมีส่วนร่วมอย่างแข็งข้นในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึกและทำอะไรรวดเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการแก้ปัญหาหรือข้อจำกัดต่าง ๆ


9. สื่อประสม คืออะไร
สื่อประสม คือ รูปแบบของการนำเสนอ สื่อหลายแบบ คือเทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการแสดงออกของข้อมูลในรูปของการผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเข้าด้วยกัน ตลอดจนมีการนำเอาระบบโต้ตอบกับผู้ใช้มาผสมผสานด้วย
การสื่อสารมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
1. ผู้ส่งสาร
2. ตัวกลางในการส่งสาร
3. ผู้รับสาร


10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
รูปแบบของสื่อหลายมิติ ประกอบด้วย
1. ข้อความหลายมิติ Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือเทคโนโนยีของการอ่านและการเขียนที่ไม่เรียงลำดับ เนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟิคอย่างง่าย ที่มีการ เชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า “จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อ หนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่ จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจ เปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
2. PowerPoint
3. E-book
4. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ทำไมต้องกินผักให้หลากหลาย

^-^ ทำไมต้องกินผักให้หลากหลาย ^-^



ชีวจิตเราเคยเสนอหลักการรับประทานอาหารให้ครบส่วนไปแล้วซึ่งในแต่ละส่วนจำเป็นต้องรับประทานให้หลากหลาย เพราะในอาหารแต่ละอย่างจะมีสารอาหารหลักไม่เหมือนกัน การรับประทานได้มากชนิดเท่าไร ก็เท่ากับได้สารอาหารหลากหลายเท่านั้น
ผักก็เช่นเดียวกันที่ควรจะรับประทานให้หลากหลาย ไม่ใช่วันๆ สั่งแต่คะน้าหรือผักบุ้งอยู่แค่นั้น เพราะผักแต่ละชนิดก็จะให้คุณค่า แร่ธาตุแตกต่างกันออกไป
สารผัก หรือไฟโตเคมิคอล (Phytochemical) เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญวิตามินเสริมที่มีมาขายทุกวันนี้ก็ล้วนแต่สกัดมาจาก "สารในผัก" ทั้งนั้น ซึ่งมีความสามารถพิเศษในการลดความเสี่ยงของโรคร้ายแรงได้เกือบทุกชนิด เช่น โรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ โดยที่หาไม่ได้จากอาหารชนิดอื่นๆ (ยกเว้นธัญพืช ถั่ว และผลไม้) สารผักแต่ละชนิดจะให้คุณค่าต่อร่างกายแตกต่างกันออกไป เช่น
*อัลลิซัลไฟด์ส (Allyl sulfides) จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายให้กำจัดสารพิษได้ดีขึ้น พบมากในหอมหัวใหญ่ หอมเล็ก ต้นหอม และกระเทียม
*กลูคาเรต (Glucarate) ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง พบมากในมะเขือยาว มันฝรั่ง พริกไทย
*ดิธิโอลธิโอเนส (Dithiolthiones) และ ไอโซธิโอไซยาเนต (Isothiocyanate) จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ให้ขับสารก่อมะเร็งในร่างกายได้ดีขึ้น พบได้ในผักตระกูลกะหล่ำทุกชนิด
*อินโดล (Indole) ช่วยลดความเสี่ยงโรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง เช่นมะเร็งเต้านมได้ พบในผักตระกูลกะหล่ำ
*ฟลาโวนอยด์ส (Flavonoids) เป็น ผักตัวสำคัญอีกตัวหนึ่ง เพราะเป็นสารที่ช่วยทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น และต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น (คือทำให้วิตามินบางตัวทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมุลอิสระได้) ฟลาโวนอยด์สสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น
เควอร์เซติน (Quercetin) พบมากในมะเขือเทศ มันฝรั่ง บร็อคเคอลี หอมหัวใหญ่
แกมป์เฟโรล (Kaempferol) ในผักคะน้า
*แคโรทีนนอนด์ (Carotenoid) สารกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักดีในฐานะที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวสำคัญที่จะทำให้ผักมีสีเขียวเข้ม เหลือง ส้ม แดง หรือม่วง ประกอบด้วย เบต้าแคโรทีน (Bata-carotene) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวเก่ง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้เป็นอย่างดีพบมากในผักสีจัดๆ เช่น แครอท ผักใบเขียวทุกชนิด พริกหวานสีแดง ฟักทอง ไลโคเพน (Lycopene) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก พบได้ในมะเขือเทศ ลูทีน (Lutein) ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งและชะลอความเหยี่ยวย่นของผิวหนัง พบมากในผักใบเขียวทุกชนิด ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ ถ้ารับประทานผักครบถ้วน รับรองว่าแข็งแรงและสุขภาพดีแน่นอน


ขอขอบคุณ : http://variety.teenee.com/foodforbrain/16568.html

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

6 อาหารสมองที่สำคัญ

*-* 6 อาหารสมองที่สำคัญ *-*



“สมอง” นับว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เป็นอวัยวะที่บัญชาการควบคุมให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ แม้ว่าสมองจะถูกใช้งานยาวนานเพียงใด ก็ยังสามารถทำงานได้ดี หากเราดูแลและบริหารสมองให้ดีอยู่เสมอ ซึ่งอาหารหารกินก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยบำรุงสมองให้ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพอาหารบำรุงสมองที่สำคัญ

1. ไทโรซีน (Thyrosine) มีมากในปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาทะเลนย้ำลึก สารไทโรซีนช่วยให้สมองตื่นตัว และมีสมาธิ

2. นม และผลิตภัณฑ์จากนม ช่วยทำให้เกิดความสมดุลของสารเคมีในสมอง สร้างความกระฉับกระเฉงให้แก่สมอง

3. ข้าวไม่ขัดสี ในข้าวไม่ขัดสีมีกรดอมิโนที่ไม่จำเป็นอยู่ในปริมาณมาก ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้จะเป็นตัวที่ส่งสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงสมอง

4. ผักโขม ช่วยชะลอความเสื่อมของสมองส่วนกลาง เนื่องจากวัยที่สูงขึ้น สมองก็จะเสื่อมลงด้วย

5. ขมิ้น สีเหลืองของขมิ้นช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ป้องกันความจำเสื่อม

6. สตรอเบอร์รี่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสมองมาเริ่มบำรุงสมองให้ดีอยู่กับเราตลอดไป โดยกินอาหารที่ช่วยบำรุงสมองอยู่พอเพียง และหมั่นใช้สมองอย่างต่อเนื่องพร้อมทำสมาธิและพักผ่อนอย่างเพียงพอ

ขอขอบคุณ : http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=67&post_id=63899

แคลคลูลัส

แคลคูลัส ( Calcolus ) >0<

แคลคูลัส เป็นสาขาหลักของคณิตศาสตร์ซึ่งพัฒนามาจากพีชคณิต เรขาคณิต และปัญหาทางฟิสิกส์ แคลคูลัสมีต้นกำเนิดจากสองแนวคิดหลัก ดังนี้
แนวคิดแรกคือ แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ (Differential Calculus) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลง และเกี่ยวข้องกับการหา
อนุพันธ์ของฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การหา ความเร็ว, ความเร่ง หรือความชันของเส้นโค้ง
บนจุดที่กำหนดให้. ทฤษฎีของอนุพันธ์หลายส่วนได้แรงบันดาลใจจากปัญหาทางฟิสิกส์
แนวคิดที่สองคือ แคลคูลัสเชิงปริพันธ์ (Integral Calculus) เป็นทฤษฎีที่ได้แรงบันดาลใจจากการคำนวณหา
พื้นที่หรือปริมาตรของรูปทรงทางเรขาคณิตต่าง ๆ ทฤษฎีนี้ใช้กราฟของฟังก์ชันแทนรูปทรงทางเรขาคณิต และใช้ทฤษฎีปริพันธ์(หรืออินทิเกรต
) เป็นหลักในการคำนวณหาพื้นที่และปริมาตร
ทั้งสองแนวคิดที่กำเนิดจากปัญหาที่ต่างกันกลับมีความสัมพันธ์กันลึกซึ้ง โดย
ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัสกล่าวว่า แท้จริงแล้วทฤษฎีทั้งสองเปรียบเสมือนเป็นด้านทั้งสองของเหรียญอันเดียวกัน นั่นคือเป็นสิ่งเดียวกันเพียงแต่มองคนละมุมเท่านั้น (โดยคร่าว ๆ เรากล่าวได้ว่าอนุพันธ์และปริพันธ์เป็นฟังก์ชันผกผัน
ของกันและกัน). ในการสอนแคลคูลัสเพื่อความเข้าใจตัวทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง ควรกล่าวถึงทั้งสองทฤษฎีและความสัมพันธ์นี้ก่อน แต่การศึกษาในปัจจุบันมักจะกล่าวถึงแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ก่อนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากนำไปใช้งานได้ง่ายกว่า
อนึ่ง การศึกษาแคลคูลัสอย่างละเอียดในเวลาต่อมา ได้ทำให้เกิดศาสตร์ใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์มากมาย เช่น
คณิตวิเคราะห์และ ทฤษฎีการวัด เป็นต้น




ประวัติของแคลคูลัส*--*









ต้นกำเนิดของแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ย้อนไปถึงยุคกรีกโบราณ ยูโดซัส มักจะเป็นที่รู้จักกันในนามของผู้ที่ค้นพบ วิธีการแจงกรณี ซึ่งทำให้สามารถคำนวณหาพื้นที่และปริมาตรได้ อาร์คิมิดีส ได้พัฒนาวิธีการนี้ต่อ และได้พัฒนาวิธีการช่วยคำนวณ ซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดในปัจจุบันด้วย ไลบ์นิซ และ นิวตัน มักจะได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่คิดค้นแคลคูลัสขึ้นมา โดยเฉพาะการค้นพบทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัสเซอร์ไอแซก นิวตัน กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ มีการโต้เถียงกันว่านิวตันหรือไลบ์นิซ ที่เป็นผู้ที่ค้นพบแนวคิดหลักของแคลคูลัสก่อน ความจริงนั้นไม่มีใครรู้ได้ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่ไลบ์นิซได้พัฒนาให้กับแคลคูลัส คือ เครื่องหมายของเขา เขามักจะใช้เวลาเป็นวัน ๆ นั่งคิดถึงสัญลักษณ์ที่เหมาะสม ที่จะแทนที่แนวคิดทางคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การโต้เถียงกันระหว่างไลบ์นิซ และนิวตัน ได้แบ่งแยกนักคณิตศาสตร์ที่พูดภาษาอังกฤษ ออกจากนักคณิตศาสตร์ในยุโรป เป็นเวลานานหลายปี ซึ่งทำให้คณิตศาสตร์ในอังกฤษล้าหลังกว่ายุโรปเป็นเวลานาน เครื่องหมายที่นิวตันใช้นั้น คล่องตัวน้อยกว่าของไลบ์นิซอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังใช้กันในอังกฤษจน Analytical Society ได้ใช้เครื่องหมายของไลบ์นิซในศตวรรษที่ 19 ตอนต้น สันนิษฐานกันว่า นิวตันค้นพบแนวคิดเกี่ยวกับแคลคูลัสก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ไลบ์นิซเป็นผู้ที่เผยแพร่ก่อน ทุกวันนี้เป็นที่เชื่อกันว่า ทั้งนิวตันและไลบ์นิซต่างก็ค้นพบแคลคูลัสด้วยตนเอง
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้พัฒนาวิชาแคลคูลัสนอกจากนี้คือ
เดส์การตส์, Barrow, เดอ แฟร์มาต์, ฮอยเก้นส์และ วอลลิสโดยเฉพาะ เดอ แฟร์มาต์ ซึ่งบางครั้งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์. นักคณิตศาสตร์ชาวญี่ปุ่น โควะ เซกิ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกับ ไลบ์นิซ และนิวตัน ได้ค้นพบหลักการพื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับ แคลคูลัสเชิงปริพันธ์ แต่เขาไม่เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกในขณะนั้น และเขาก็ไม่ได้ติดต่อกับนักวิชาการชาวตะวันตกเลย






ขอร้อง....รักเธอนะ *-*

รักนะ

Create miiselfVisit this user
Create miiselfVisit this user